เมนู

วิญญาณ ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะเป็นโลกิยวิบากเป็นต้น ชื่อว่า
มี 2 อย่าง เพราะเป็นสเหตุกะ และอเหตุกะเป็นต้น ชื่อว่า มี 3 อย่าง
เพราะนับเนื่องด้วยภพ 2 เพราะประกอบพร้อมด้วยเวทนา 3 และเพราะเป็น
อเหตุกะ ทุเหตุกะ และติเหตุกะ ชื่อว่า เป็น 4 อย่าง และเป็น 5 ด้วย
อำนาจกำเนิด และอำนาจคติ.
นามรูป ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะอาศัยวิญญาณและโดยมีกรรม
เป็นปัจจัย ชื่อว่า มี 2 อย่าง เพราะเป็นสารัมมณะและอนารัมมณะ ชื่อว่า
มี 3 อย่าง เพราะเป็นอดีตเป็นต้น ชื่อว่า มี 4 และ 5 อย่าง ด้วยอำนาจ
กำเนิด 4 และคติ 5.
สฬายตนะ ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะเป็นที่เกิดและประชุม ชื่อว่า
มี 2 อย่าง เพราะภูตรูป ประสาทรูป และวิญญาณ* เป็นต้น ชื่อว่า
มี 3 อย่าง เพราะเป็นอารมณ์ที่เป็นสัมปัตตะ อสัมปัตตะ และไม่ใช่ทั้ง 2
(คือทางมโนทวาร) ชื่อว่า มี 4 และ 5 อย่าง เพราะนับเนื่องด้วยกำเนิด 4
และคติ 5 แล. บัณฑิตพึงทราบธรรมแม้มีผัสสะเป็นต้นว่าเป็นธรรมอย่างเดียว
เป็นต้นโดยนัยนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในปัจจยาการนี้แม้โดยเป็นธรรมมีอย่างเดียวเป็นต้น
อย่างนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยการกำหนดองค์


ชื่อว่า โดยการกำหนดองค์ ความว่า ก็ในปัจจยาการนี้ ความโศก
เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อทรงแสดงความไม่ขาดตอนของภวจักร
เพราะความโศกเป็นต้นนั้น ย่อมเกิดแก่คนพาลผู้ถูกชราและมรณะเบียดเบียน
* ทวีปัญจวิญญาณ

แล้วเหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
อันทุกขเวทนาทางกายถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ย่อมลำบาก ย่อม
คร่ำครวญ ย่อมตีอกร้องไห้ ย่อมถึงการหลงใหล
* ดังนี้เป็นต้น.
อนึ่ง อวิชชายังเป็นไปตราบเท่าที่ความโศกเป็นต้นเหล่านั้นยังเป็นไป
อยู่ เพราะเหตุนั้น การเกี่ยวเนื่องกันว่า อวิชชาปจฺจยา สํขารา (สังขาร
เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) ดังนี้ แม้อีกจึงเป็นภวจักรทีเดียว เพราะฉะนั้น
พึงทราบองค์แห่งปฏิจจสมุปบาทมี 12 เท่านั้น เพราะประมวลความโศกเป็นต้น
แม้เหล่านั้นเข้าด้วยกันกับชรามรณะนั่นเอง พึงทราบวินิจฉัยในปัจจยาการนี้
แม้โดยการกำหนดองค์ทั้งหลายไว้ ด้วยประการฉะนี้.
กถาว่าโดยย่อในปัจจยากรนี้ด้วยสามารถอุเทศวารเพียงเท่านี้
วรรณนาอุเทศวาร จบ

ว่าด้วยนิเทศอวิชชาเป็นปัจจัย

(บาลีข้อ 246)
บัดนี้ เป็นกถาว่าโดยพิสดาร ด้วยสามารถแห่งนิเทศวาร จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อวิชฺชาปจฺจยา สํขรา ดังนี้ ในพระบาลีนั้น
เมื่อจะทรงแสดงสังขารทั้งหลายอันมีอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะบุคคลเมื่อจะพูด
ถึงบุตรก็ย่อมกล่าวถึงบิดาก่อน ด้วยว่าเมื่อเป็นเช่นนี้ บุตรก็เป็นคำพูดได้ดีว่า
บุตรของนายมิต บุตรของนายทัตตะ ดังนี้ ฉะนั้น พระศาสดาทรงเป็น
ผู้ฉลาดในเทศนา เพื่อทรงแสดงอวิชชาเช่นเป็นบิดาด้วยอรรถว่ายังสังขาร
ทั้งหลายให้เกิดก่อน จึงตรัสคำว่า ตตฺถ กตมา อวิชฺชา ทุกฺเข อญฺญาณํ
(ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชาเป็นไฉน ? ความไม่รู้ทุกข์) เป็นต้น.
* สํ. สฬายตน. เล่ม 18 369/257